BREAKING NEWS
latest

728x90

ad

468x60

ad

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

บึงกาฬ ประชุมป้องกันปัญหาภัยแล้ง คาดการณ์21ตำบลขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้





นายกรกต ธำรงวงศ์สวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เป็นประธานการประชุมส่วนราชการ หน่วยงาน อำเภอ เพื่อเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2563 ..คาดการณ์ว่า จะมีพื้นที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ใน 8 อำเภอ จำนวน 21 ตำบล 69 หมู่บ้าน

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ห้องประชุมศรีสองนาง ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดบึงกาฬ นายกรกต ธำรงวงศ์สวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เป็นประธานการประชุมส่วนราชการ หน่วยงาน อำเภอ เพื่อเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2563 สำรวจ ปรับปรุง แก้ไขข้อมูลด้านน้ำ จำนวนประชาชนในพื้นที่ จัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ช่วยเหลือภัยแล้งให้เกิดความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ

โดยจังหวัดได้รับรายงานข้อมูลพื้นฐานด้านน้ำคาดการณ์ว่า จะมีพื้นที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ใน 8 อำเภอ จำนวน 21 ตำบล 69 หมู่บ้าน สำหรับข้อมูลอ่างเก็บน้ำทั้งที่อยู่ในการดูแลของโครงการชลประทานจังหวัดบึงกาฬและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมู่บ้าน มีทั้งหมดประมาณ 400 กว่าแห่ง แยกเป็น อ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็ก ในการดูแลของโครงการชลประทานจังหวัดบึงกาฬ จำนวน 53 แห่ง มีปริมาณน้ำเฉลี่ยมากกว่า ร้อยละ 50 ส่วนอ่างเก็บน้ำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหมู่บ้าน อีกประมาณ 350 แห่ง มีปริมาณน้ำเฉลี่ยน้อยกว่า ร้อยละ 50 เล็กน้อย ซึ่งสามารถใช้น้ำได้ตลอดหน้าแล้งนี้ สำหรับน้ำอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่ 8 อำเภอ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ให้บริการของสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาคสาขาบึงกาฬ สาขาพรเจริญ สาขาบ้านแพง และสาขาโพนพิสัย มีน้ำเพียงพอต่อการใช้ตลอดหน้าแล้ง และการประปามีแผนรองรับไว้แล้วหากไม่สามารถสูบน้ำจากแหล่งน้ำดิบดังกล่าวได้

ส่วนระบบประปาของ อปท. และหมู่บ้าน ได้ให้ทางอำเภอไปสำรวจข้อมูลที่ชัดเจนมานำเสนอในครั้งต่อไป สำหรับโครงการน้ำบาดาลช่วยเหลือพื้นที่ภัยแล้ง ของ สนง.ทสจ.บึงกาฬ มี 5 โครงการ ในพื้นที่ 6 อำเภอ จำนวนบ่อบาดาล 16 บ่อ และได้ใช้งบประมาณแก้ไขปัญหาภัยแล้งของจังหวัดไปดำเนินการเป่าล้างบ่อบาดาล จำนวน 170 กว่าแห่งสำหรับสถานการณ์ภัยแล้งของจังหวัดบึงกาฬ มีการประกาศเขตให้ความช่วยเหลือภัยแล้งด้านการเกษตร รวม 4 อำเภอ 32 ตำบล 259 หมู่บ้าน พื้นที่นาข้าว จำนวน 15,797.75 ไร่ กรณีขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร จำนวน 1 หมู่บ้าน (บ้านหนองลาด ต.ศรีสำราญ อ.พรเจริญ)

นายกรกต ธำรงวงศ์สวัสดิ์ กล่าวว่า การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งทุกภาคส่วนทั้งภาคราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ต้องบูรณาการกันป้องกันและแก้ไขปัญหา ให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัย ทุกส่วนราชการ หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลอ่างเก็บน้ำ หนอง บึง ต้องมีข้อมูลปริมาณน้ำต้นทุน น้ำที่นำไปใช้เพื่อการผลิตน้ำประปา น้ำเพื่อการเกษตร จำนวนผู้ใช้น้ำที่ชัดเจน เพื่อนำมาบริหารจัดการ วางแผนการใช้น้ำให้ได้ตลอดหน้าแล้งนี้ รวมทั้งใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชน การขอความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ โดยคณะกรรมการศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดบึงกาฬ จะจัดการประชุมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ทุกเดือน และหากประชาชนได้รับความเดือดร้อน อปท. อำเภอ ส่วนราชการ ต้องลงไปช่วยเหลือได้ทันที


เกรียงศักดิ์ ถวายชัย ประชาสัมพันธ์จังหวัดบึงกาฬ : รายงานข้อมูล

« PREV
NEXT »

ไม่มีความคิดเห็น