หนองกุดทิง (อำเภอเมืองบึงกาฬ)
หนองกุดทิง มีเนื้อที่ประมาณ 16,500 ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ห่างจากตัวอำเภอเมืองบึงกาฬ 5 กิโลเมตร มีรูปร่างที่มองจากทางอากาศ คล้ายกับปีกผีเสื้อ หนองกุดทิงมีระบบนิเวศที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำโขง จึงมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 22,00 ไร่ ลึก 5-10 เมตร และในฤดูน้ำหลาก อาจลึกมากสุดถึง 10 เมตร
มีความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบด้วยสัตว์น้ำกว่า 250 สายพันธุ์ ปลาที่เป็นเอกลักษณ์ไม่มีที่ใดในโลก 20 สายพันธ์ พืชน้ำกว่า 200 ชนิด นกพันธุ์ต่าง ๆ กว่า 40 ชนิด และเป็นที่ประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่กว่า 2,000 ครัวเรือน
...ประชากร ประมาณ 23,000 คน จากชุมชนกว่า 40 ชุมชน ได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิงในด้านต่างๆ เช่น ใช้เป็นแหล่งอาหาร แหล่งน้ำ ซึ่งก่อเกิดเป็นความมั่นคงทางอาหาร ทางสังคมและเศรษฐกิจต่อชุมชนเหล่านั้น
อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) เป็นอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ มีการประชุมและร่างปฏิญญาครั้งแรกที่เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน เมื่อปี พ.ศ. 2514 มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำของโลกโดยส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด เนื่องจากพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นระบบนิเวศที่ประกอบด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ วัฒนธรรมและสังคมที่ดำรงคุณค่านานัปการ
ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 นับเป็นลำดับที่ 110 ของภาคีอนุสัญญาฯ โดยเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำควนขี้เสียน ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย
สำหรับหนองกุดทิง ได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำโลก ลำดับที่ 12 ของประเทศไทย และลำดับที่ 1733 ของโลก ในปี พ.ศ. 2551 ชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบกุดทิง ได้พึ่งพาอาศัยพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การทำประมง คิดเป็นร้อยละ 11 ของครัวเรือนทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายโครงการ ฯ มีการใช้ประโยชน์จากของป่าและพืชน้ำ นอกจากนี้ยังในช่วงฤดูแล้ง บริเวณโดยรอบพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง ถูกใช้เป็นพื้นที่ทำการเกษตรระยะสั้น โดยทำการเพาะปลูกมะเขือเทศ แตงโม ซึ่งมีการใช้ยาฆ่าแมลง และสารเคมีเป็นจำนวนมาก จนน่าเป็นห่วงว่าจะมีการปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ พันธุ์สัตว์ที่พบ : เนื่องด้วยกุดทิงมีระบบนิเวศที่หลากหลายของสังคมพืชน้ำ มีสภาพพื้นที่ที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำโขงทำให้พื้นที่แห่งนี้มีความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ อาทิเช่น พบปลาน้ำจืด ประมาณ 103 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นปลาประจำถิ่นและปลาอพยพที่มาจากแม่น้ำโขง มากกว่า 56 ชนิด เป็นปลาเศรษฐกิจ เพื่อใช้ในการบริโภคในครัวเรือน และจำหน่าย
นอกจากนี้ยังมีการนำปลามาแปรรูปในลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปลาตากแห้ง และปลาร้า ซึ่งเป็นการถนอมอาหารอีกประเภทหนึ่งของชุมชนที่อาศัยอยู่รอบพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้ การสำรวจพรรณปลาในพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง ยังพบพันธุ์ปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก หรือเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เล็กที่สุดของประเทศไทย ได้แก่ ปลาซิวแคระ (Boraras micros) และ ปลายี่สก ซึ่งตกอยู่ในภาวะล่อแหลมต่อการถูกคุกคามและปลาประจำถิ่นแม่น้ำโขงอีก 9 ชนิด นอกจากพรรณปลาชนิดต่างๆ แล้ว ในพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้ยังเป็นแหล่งพันธุกรรมที่สำคัญของ กุ้งน้ำจืด 3 ชนิด คือ กุ้งฝอยเล็ก (Caridina laevis) กุ้งฝอยใหญ่ (Macrobrachium lanchesteri) และกุ้งฝอยแดง(M. thai) ซึ่งกุ้งทั้ง 3 ชนิด ชุมชนท้องถิ่นได้มาบริโภคและจำหน่ายอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ ปลาซิวแคระ สัตว์มีกระดูกสันหลังที่เล็กที่สุดของไทยปลาบู่กุดทิง ปลาบู่แคระปลาซิวแก้วปลาซิวหางกรรไกรเล็กปลากัดอีสาน ปลาปักเป้าควาย ปลาสร้อยปีกแดงและปลาเหล็กในมิเพียงแต่ความหลากหลายของพรรณสัตว์น้ำเท่านั้น พื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้ยัง เป็นแหล่งรวมของนกอพยพและนกประจำถิ่นอีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น นกเป็ดน้ำ เหยี่ยว และนกน้ำอื่นๆ อีกมากว่า 100 ชนิด ผลกระทบและภัยคุกคาม: ปัญหาหลักที่สำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้ได้แก่ การทำประมงเกินขนาด (Overfishing) ซึ่งหมายถึง จำนวนชาวประมง และเครื่องมือหาปลามีจำนวนมากเกินไป
นอกจากนี้ยังร่วมถึงการใช้ ใช้เครื่องมือประมงที่ไม่เหมาะสม เช่น การช๊อตปลา รวมถึงสารเคมีจากการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกมะเขือเทศ และยางพารา รอบพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งอาจปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำได้ กิจกรรมการเลี้ยงสัตว์รอบบึงกุดทิงอาจส่งผลกระทบต่อสังคมพื้นน้ำ รวมไปถึง สัตว์ และพืชต่างถิ่นที่รุกนาน ได้แก่ หอยเชอรี่ ไมยราพยักษ์ และผักตบชวา การดำเนินงานเพื่อการอนุรักษ์: จากการศึกษาของชุมชนและองค์กรกองทุนสัตว์ป่าโลกประจำประเทศไทย (WWF) พบว่าพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิงมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยพบพรรณพืชน้ำ 59ชนิด และพบพืชชนิดใหม่ คือ ต้นเล็บม้า (Coldesia sp.) และสาหร่ายข้าวเหนียวดอกม่วง ปลาน้ำจืดประมาณ 123 ชนิด และเป็นแหล่งพักพิงของนกอพยพและนกประจำถิ่น มากกว่า 100 ชนิด เป็นแหล่งรองรับและกักเก็บน้ำและเป็นแหล่งประมงที่สำคัญของชุมชนในพื้นที่ ปัจจุบันมีแนวโน้มกำลังถูกคุกคามจากการบุกรุกและใช้ประโยชน์
ดังนั้นเพื่อให้สามารถนำมาตรการการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติตามมติคณะรัฐมนตรีฯ มาใช้ในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิงจึงจำเป็นต้องยกระดับให้พื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิงเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ ในการประชุมคณะกรรมการการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำจังหวัดหนองคาย ครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2550 โดยมีนาย มานิตย์ มกรพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานคณะกรรมการฯ และมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กำนันตำบลโคกก่อง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อง กำนันตำบลโนนสมบูรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ กำนันตำบลโสกก่าม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโสกก่าม กำนันตำบลบึงกาฬ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบึงกาฬ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดหนองคาย
หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้เสนอพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิงเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศหรือแรมซาร์ไซต์ โดยครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 16,533 ไร่ 1 งาน ตามแนวเขตหนังสือสำคัญที่หลวง (น.ส.ล.) เนื่องจากกุดทิงมีคุณสมบัติทางนิเวศวิทยาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศตามความเห็นของการประชุมประจำเดือนของอำเภอบึงกาฬ ซึ่งมีหัวหน้าส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัคร และผู้นำชุมชน 2 ครั้ง ในวันที่ 30 พฤศจิกายน และ 4 ธันวาคม 2549 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 450 คน จังหวัดหนองคาย มีหนังสือที่ นค 0013/8707 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2550 ขอเสนอพื้นที่กุดทิงขึ้นทะเบียนเป็นแรมซาร์ไซต์ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการขอความเห็นจากคณะทำงานวิชาการพื้นที่ชุ่มน้ำ และคณะอนุกรรมการการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับความเห็นชอบในการขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิงให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและแรมซาร์ไซต์
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้มีมติในคราวการประชุมครั้งที่ 5/2551 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2551 เห็นชอบกับการเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง จังหวัดหนองคาย (บึงกาฬในปัจจุบัน) เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศหรือแรมซาร์ไซต์ ตามความเห็นของ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและให้ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำความเห็นของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป คณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2552 มีมติเห็นชอบในการเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง จังหวัดหนองคาย เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ระหว่างการประสานงานกับสำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศหรือ (Ramsar Site) ต่อไป
ด้านการประมง กุดทิงถือเป็นแหล่งประมงปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดของชาวบึงกาฬ มีการจับปลาในบริเวณหนองน้ำกุดทิงเพื่อบริโภคและจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ในปีหนึ่งๆ จับปลาได้จากกุดทิงเป็นปริมาณหลายสิบตัน
ด้านการปศุสัตว์ มีการเลี้ยงวัวและควายในบริเวณพื้นที่รอบๆ กุดทิง เนื่องจากกุดทิงเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยอาหารและน้ำของวัวและควายที่เลี้ยงด้วยวิธีธรรมชาติ
ด้านการเกษตรกรรม กุดทิงเป็นแหล่งน้ำที่มีน้ำขังตลอดทั้งปีจึังเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดต่างๆ ได้แก่ การทำนาข้าวทั้งนาปีและนาปรัง มะเขือเทศ แตงโม พืชผักสวนครัว
กุดทิง ถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ ลำดับที่ 12 ของประเทศไทย และลำดับที่ 1733 ของโลก ต่อจากบึงโขงหลง อำเภอบึงโขงหลง ซึ่งอยู่ในจังหวัดบึงกาฬเช่นกัน
โดยทั้งกุดทิงและบึงโขงหลงเป็นแหล่งน้ำเพียง 2 แห่งที่ถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายหลังจากที่กุดทิงถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำก็ได้มีการกำหนดเขต "ห้ามล่าเด็ดขาด" ขึ้นมา 5 จุด เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูกุดทิง แต่ละจุดมีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ โดยมีการวางทุ่นลอยน้ำสีขาวล้อมรอบบริเวณดังกล่าวไว้ ภายในบริเวณที่ถูกประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าเด็ดขาดนี้ห้ามไม่ให้ใครผู้ใดผ่านเข้าไปและห้ามล่าสัตว์โดยเด็ดขาด
...ฝ่าฝืนมีโทษตามกฏหมาย ทั้งนี้เพื่อไม่ให้รบกวนแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์
บริเวณเขตห้ามล่าเด็ดขาดแต่ละจุดนี่เองเป็นจุดดูนกของกุดทิง เขตห้ามล่าหลังวัดป่าสันติสามัคคี ตำบลโนนสมบูรณ์เป็นแหล่งดูนกที่สำคัญและดีที่สุด เนื่องจากในบริเวณนี้มีศาลาริมน้ำ ร่มเย็น เงียบสงบ สามารถดูนกได้ทั้งวัน และนกจะถูกรบกวนจากชาวบ้านที่มาใช้ประโยชน์จากกุดทิงน้อยที่สุด ทำให้นกหลายชนิดมาอาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะเป็ดแดง
“กุด” เป็นภาษาท้องถิ่น หมายถึง บริเวณที่น้ำจากลำห้วยหลายสายไหลมารวมกันกลายเป็นแอ่งน้ำ บึง หรือหนองน้ำขนาดใหญ่ คำว่า “ทิง” สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “กระทิง” กุดทิง จึงมีความหมายว่า เป็นแหล่งน้ำที่มีวัวกระทิงลงมากินน้ำเป็นจำนวนมาก
ตามตำนานเล่าว่าแต่ก่อนมีกระทิงป่าชอบมากินน้ำเป็นจำนวนมาก คนในสมัยก่อนจึงเรียกหนองน้ำแห่งนี้ว่า หนองกระทิง
...แต่ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น หนองกุดทิง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตำบลบึงกาฬ มีหมู่บ้านโดยรอบ เช่น บ้านนาโนน บ้านท่าไคร้ บ้านท่าโพธิ์ บ้านดงหมากยาง บ้านแสนสำราญและบ้านแสนสุข ประชาชนโดยรอบใช้ประโยชน์ในการประมง เลี้ยงสัตว์ ทำการเกษตร และอุปโภคบริโภค มีความหลากหลายทางชีวภาพ
ภาพข่าว :
www.edtguide.com/travel/334192
www.touronthai.com
ไม่มีความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น