BREAKING NEWS
latest

728x90

ad

468x60

ad

วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2562

Hyperloop ระบบขนส่งแบบใหม่ ประหยัด รวดเร็ว และปลอดภัย

ไฮเปอร์ลูป Hyperloop ระบบขนส่งแบบใหม่ ประหยัด รวดเร็ว และปลอดภัย


ไฮเปอร์ลูป Hyperloop ระบบขนส่งแบบใหม่ ที่รวดเร็ว สะดวก ประหยัด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ระบบการขนส่งนี้ได้เริ่มพัฒนากันในหลายๆประเทศ แม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านเราก็ได้เซ็นต์สัญญาทำการศึกษาความเป็นไปได้เรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันนี้ระบบการขนส่งของโลกมนุษย์เราไม่ได้มีการวิวัฒนาการไปมากสักเท่าไร ที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันก็ยังมีแค่ ทางเรือ ทางอากาศ ทางรถยนต์ และทางรถไฟ ซึ่งเป็นการขนส่งแบบเก่าที่เริ่มมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นแถมช้าไม่ทันใจ ที่สำคัญยังก่อมลภาวะมากอีกด้วย การขนส่งแบบ “ไฮเปอร์ลูป” จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองและแก้ปัญหาเหล่านี้

ไฮเปอร์ลูป Hyperloop ระบบขนส่งแบบใหม่ มันเป็นอย่างไร?

ไฮเปอร์ลูป คือระบบการขนส่งแบบใหม่ ที่เกิดจากการคิดค้นเพื่อหาแนวทางในการขนส่งให้ มีความเร็วขึ้น และต้นทุนถูกลง มีความสะดวกสะบาย ปลอดภัย และปราศจากมลพิษ ไฮเปอร์ลูปเป็นเทคโนโลยีที่เปิดกว้างใครๆก็สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ เหมือนกับระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ซึ่งมันฟรี หลักการคือขนส่งผ่านท่อความดันโดยมีห้องโดยสารที่เป็นแบบแคปซูลวิ่งในท่อด้วยความเร็วสูง

ไฮเปอร์ลูป Hyperloop ระบบขนส่งแบบใหม่ ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักที่สำคัญคือ ท่อแรงดันต่ำ และแคปซูลโดยสาร ที่สามารถวิ่งได้ทั้งความเร็วสูงและความเร็วต่ำตลอดแนวท่อ ตัวแคปซูลโดยสารจะถูกพยุงไว้ด้วยความดันอากาศและระบบแอโรไดนามิกทำให้ทรงตัวได้โดยไม่เกิดไม่กระทบกระแทกกับผนังของท่อส่งแรงดันต่ำ ซึ่งแคปซูลโดยสารนี้จะเร่งความเร็วด้วยระบบแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งติดตั้งไปตลอดแนวท่อจากต้นทางถึงปลายทาง ผู้โดยสารสามารถขึ้นลงได้ที่สถานีต้นทางและปลายทาง หรืออาจจะมีสถานีระหว่างทางก็ได้โดยทำเป็นอุโมงค์แขนงออกมา

โครงการทดลองของ อีลอน มัสค์ ระบบขนส่งระหว่าง ลอสแอนเจลีสและซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย
เส้นทางการเดินทางระหว่างเมืองลอสแอนเจลีสกับเมืองซานฟรานซิสโก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ระยะทาง 560 กิโลเมตร นับว่าเป็นเส้นทางที่จอแจที่สุดในฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา การสร้างระบบการขนส่งเชื่อมสองเมืองที่มีการเดินทางที่หนาแน่น ถ้าเป็นการขนส่งแบบเดิมๆก็จะมีข้อเสียต่างๆกันไปกล่าวคือ

- การขนส่งโดยรถยนต์ มีข้อดีคือราคาถูก แต่ข้อเสียก็คือช้า และก็มีมลภาวะทางเสียง
- การขนส่งทางอากาศ มีข้อดีคือรวดเร็ว และไม่มีมลภาวะทางเสียงมาก แต่ข้อเสียก็คือราคาแพง
- การขนส่งทางรถไฟ มีข้อเสียคือแพง ช้า และก็มีมลภาวะทางเสียง

มีการนำเสนอรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมเมืองสองเมืองนี้ด้วยงบประมาณสูงถึง 68.4 พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ด้วยความเร็วที่ได้แค่ 264 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทั้งหมด 2 ชั่วโมง 38 นาที มีค่าโดยสารเที่ยวเดียว 105 เหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่ได้ดีกว่าการเดินทางแบบเดิมๆ ซ้ำยังแพงและช้ากว่าการเดินทางด้วยเครื่องบิน ดังนั้นรถไฟความเร็วสูงจึงไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง ถึงไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องแต่ทางการรัฐแคลิฟอร์เนียก็ได้ดำเนินการไปแล้ว

ไฮเปอร์ลูป Hyperloop ระบบขนส่งแบบใหม่ ที่เสนอโดย SpaceX ของ Elon Musk
อีลอน มัสค์ นำเสนอการเดินทางแบบใหม่ “ไฮเปอร์ลูป” ซึ่งเร็วกว่าและถูกกว่าด้วยมูลค่าโครงการแค่ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ใช้เวลาเดินทางเพียง 35 นาที ด้วยต้นทุนค่าโดยสารเพียง 20 เหรียญสหรัฐอเมริกา เมื่อเทียบกับรถไฟความเร็วสูงที่กำลังจะสร้างนี้ที่ต้องใช้เวลาในการเดินทางถึง 2 ชั่วโมง 38 นาที ที่ราคาตั๋วเที่ยวเดียวถึง 105 เหรียญสหรัฐอเมริกา โครงการเดินทางด้วยความเร็วสูงแบบ “ไฮเปอร์ลูป” ของอีลอน มัสค์ มีส่วนประกอบหลักๆที่สำคัญคือ

Hyperloop passenger capsul
แคปซูลโดยสาร ภาพจาก Hyperloop alpha

- แคปซูล โครงการนี้ศึกษามาให้มีสองทางเลือกคือ แบบแคปซูลที่มีแต่ผู้โดยสารล้วนๆ และแบบมีผู้โดยสารและขนส่งสินค้าไปด้วย โดยแคปซูลแบบขนส่งผู้โดยสารอย่างเดียวสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้แคปซูลละ 28 คน และออกเดินทางทุกๆ 2 นาที ในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนจะออกทุกๆ 30 วินาที ทั้งเที่ยวไปและกลับ แคปซูลแบบมีผู้โดยสารและสินค้าด้วยก็บรรจุได้ 3 คาร์โก้ มีระยะเวลาออกเท่ากัน ระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่งเท่ากันคือ 35 นาที โครงการนี้ใช้แคปซูลโดยสารทั้งหมด 40 แคปซูลสามารถขนผู้โดยสารได้ 7.5 ล้านคนต่อปี โดยคิดที่ 1 ท่อขนส่ง แต่โครงการนี้จะมี 2 ท่อขนส่งทั้งขาไปและขากลับเพื่อไม่ให้ต้องหยุดรอกัน
- ท่อขนส่ง ทำด้วยเหล็กเชื่อมติดกัน 2 ท่อ ใช้ในขาไปและขากลับ ทุกๆ 30 เมตรจะมีเสาค้ำยัน 1 ต้น บนท่อขนส่งจะมีแผงโซล่าร์เซลล์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับระบบ
- ระบบการขับเคลื่อน เป็นแบบ Linear accelerators ที่ติดตั้งตลอดทั้งท่อขนส่ง และที่ตัวแคปซูลโดยสารได้ติดตั้งโรเตอร์เพื่อถ่ายโมเมนตัมไปยังแคปซูลผ่านระบบ Linear Accelerators
- เส้นทางการวิ่ง เริ่มจากสถานีต้นทางช่วง Los Angeles Grapevine South ใช้ความเร็วที่ 480 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ช่วงนี้ใช้เวลา 167 วินาที ต่อไปช่วง Los Angeles Grapevine North ใช้ความเร็ว 890 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลา 435 วินาที ต่อมาเป็นทางราบและตรงขนานกับเส้นทาง I-5 (Interstate Highway 5)  ใช้ความเร็วสูงสุด 1,220 กิโลเมตรต่อชั่วโมงใช้เวลา 1,518 วินาที ช่วงสุดท้ายเข้าสู่ซานฟรานซิสโก ใช้ความเร็ว 890 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และชลอตัวเข้าสู่เขตเมืองที่ความเร็ว 480 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

รวมเวลาที่ใช้เดินทางทั้งหมด เป็นเวลา 2,134 วินาทีหรือ 35 นาที เส้นทางนี้ยังปรับให้ไม่มีความโค้งมากและมีความชันที่ไม่เกิน 6 เปอร์เซ็นต์ บางช่วงเป็นอุโมงค์ และโครงการนี้จะมีอุโมงค์ยาวประมาณ 24.5 กิโลเมตร

Tube with Solar roof
ท่อขนส่งพร้อมด้วยระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ภาพจากไฮเปอร์ลูปอัลฟา

งบประมาณของโครงการ
โครงการนี้ทำการศึกษาในสองทางเลือกคือ แบบที่ 1 ชนิดที่มีเฉพาะแคปซูลโดยสารอย่างเดียว 40 แคปซูลใช้เงินลงทุน 6,000 ล้านเหรียญรวมสองท่อขนส่งไปและกลับ สามารถขนผู้โดยสารได้ 7.4 ล้านคนต่อปีต่อท่อขนส่ง 1 ท่อ ถ้าคิดเวลา 20 ปีจะทำให้มีต้นทุนตั๋วโดยสารเพียงแค่ 20 เหรียญต่อเที่ยวเท่านั้น ยังไม่รวมค่าใช้จ่าย Operating Cost ซึ่งจะมีไม่มาก

แบบที่ 2 มีแคปซูลผู้โดยสารและแคปซูลขนส่งสินค้า ประกอบด้วยคาโก้แคปซูล 20 แคปซูล และแคปซูลโดยสารอีก 30 แคปซูล ใช้งบลงทุนทั้งหมด 7,500 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา

ที่ไหนบ้างที่กำลังศึกษาโครงการ ไฮเปอร์ลูป ระบบขนส่งแบบใหม่
ล่าสุดเดือนมิถุนายน 2560 รัฐบาลเกาหลีใต้เซ็นสัญญากับบริษัท HTT เพื่อศึกษาและพัฒนาการขนส่งแบบ “ไฮเปอร์ลูป” ชนิดเต็มรูปแบบ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง Korea Institute of Civil Engineering และ Building Technology (KICT) และมหาวิทยาลัยฮานยาง โครงการนี้ชื่อว่า HyperTube Express (HTX) 

ประเทศเพื่อบ้านเรา อินโดนีเซียเป็นประเทศแรกที่ริเริ่มและศึกษาโครงการนี้อย่างจริงจัง การริเริ่มนี้เป็นของเอกชน ใช้งบประมาณ 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาในการจ้างบริษัทผู้เชี่ยวชาญมาศึกษาการพัฒนาการขนส่งแบบไฮเปอร์ลูป เพื่อเชื่อมต่อจากกรุงจากาต้าร์ไปยังเกาะชวาและเกาะสุมาตรา โดยมีการเซ็นต์สัญญาไปเมื่อเดือนมีนาคม 2560 นี้เอง

ขณะเดียวกันก็มีการศึกษาและเริ่มพัฒนาในหลายๆพื้นที่ของโลกเช่น ฝรั่งเศส สาธารณะรัฐเชค สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นต้น
« PREV
NEXT »

ไม่มีความคิดเห็น