BREAKING NEWS
latest

728x90

ad

468x60

ad

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2562

ปลดล็อกไม้! มีโฉนด นส.3 ก. ใบจอง สค.1 ..ไม่เป็นไม้หวงห้าม

ล่าสุดเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พ.ร.บ. ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดให้ไม้ทุกชนิดที่ปลูกในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ตามประมวลกฎหมายที่ดิน “ไม่เป็นไม้หวงห้าม”




การไม่เป็นไม้หวงห้ามนั้น หมายถึง?

กฎหมายที่ใช้แต่เดิมระบุว่า ไม้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจบางชนิด ที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.หรือไม้หวงห้ามธรรมดา มีจำนวน 158 ชนิด ยกตัวอย่างเช่น

“ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้เก็ดแดง ไม้อีเม่ง ไม้พะยุงแกลบ ไม้กระพี้ ไม้แดงจีน ไม้ขะยุง ไม้ซิก ไม้กระซิก ไม้กระซิบ ไม้พะยูง ไม้หมากพลูตั๊กแตน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้เก็ดดำ ไม้อีเฒ่า และไม้เก็ดเขาควาย”

ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ในที่ใด ๆ ก็ตามในราชอาณาจักร ถือเป็นไม้หวงห้ามทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้าเราจะทำไม้ (เช่น ตัด ฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่า ถาก ทอน ขุด ชักลาก) หรือนำไม้ออกจากพื้นที่ จะต้องทำเรื่องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อน

... แต่กฎหมายใหม่ปรับแก้เป็น

“ไม้ทุกชนิดที่ขึ้นในที่ดินมีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน เช่น ที่ดินที่มีโฉนด นส.3 ก. ใบจอง สค.1 เป็นต้น “ไม่เป็นไม้หวงห้าม” ดังนั้น การทำไม้โดยเฉพาะไม้มีค่า ไม่ต้องทำเรื่องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่อีกต่อไป เว้นแต่กรณีที่ต้องการส่งออกไม้หรือผลิตภัณฑ์ออกนอกราชอาณาจักรจะต้องขออนุญาต

หรือกล่าวได้ว่า กฎหมายฉบับนี้ได้ยกเลิกการกำหนดไม้หวงห้ามในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่จะควบคุมเฉพาะไม้ในป่าเท่านั้น

ซึ่งนอกจากกฎหมายนี้ จะครอบคลุมไม้หวงห้ามจำนวน 158 ชนิดแล้ว ยังรวมถึงไม้หวงห้ามประเภท ข. หรือไม้หวงห้ามพิเศษ ซึ่งเป็นไม้หายากหรือไม้ที่ควรสงวนไว้อีก 13 ชนิด คือ

1. กระเบา กระเบาน้ำ กระเบาใหญ่
2. กำจัดต้น มะแข่น แขว่น มะข่วง ลูกระมาศ
3. กำยาน
4. จันทน์ชะมด
5. จันทน์หอม
6. จันทนา จันทน์ขาว
7. ตีนเป็ดแดง เยลูต
8. ปะ กระ
9. รง รงทอง
10. สนแผง สนใบต่อ แปกลม
11. สำรอง พุงทะลาย ท้ายเภา
12. แสลงใจ แสลงไหน แสลงทม แสลงเบื่อ แสงเบื่อ มะตึ่ง ตึ่งต้น บึงกา ตูมกา ตึ่งตูมกาขาว
13. แหลง แสลง ยวนผึ้ง ผึ้ง ลุง

ดังนั้น จึงเป็นการปลดล็อกครั้งสำคัญ ที่ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนสามารถปลูกไม้ยืนต้นมีค่าในที่ดินของตนเอง สร้างรายได้ที่มั่นคงจากการประกอบอาชีพทำไม้ปลูกป่าเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นวัตถุดิบพื้นฐานของอุตสาหกรรมป่าไม้ทั้งระบบ นอกจากจะเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวแล้วยังเป็นการลดการนำเข้าไม้จากต่างประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยดีขึ้นอีกด้วย


รายละเอียดเพิ่มเติม




« PREV
NEXT »

ไม่มีความคิดเห็น