BREAKING NEWS
latest

728x90

ad

468x60

ad

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2562

แบงก์ชาติ!! สกุลเงินดิจิทัลส่งผลกระทบ เตรียมออกใช้ของตัวเอง



ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์ผลกระทบของบริการทางการเงินดิจิทัลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของไทย  โดยมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Crypto และสกุลเงินดิจิทัล ที่ออกโดยธนาคารกลาง (central bank digital currency: CBDC) จากมุมมองของการดำเนินนโยบายการเงินในปัจจุบันและในอนาคต  เพื่อเตรียมพร้อมและปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น

ผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงิน

หากประชาชนให้การยอมรับ Crypto และลดการใช้เงินบาทที่ออกโดยทางการ สิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลาง แต่จากการศึกษาพบว่าในปัจจุบัน Crypto ยังไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินอย่างมีนัยสำคัญ  เนื่องจากยังไม่เข้าข่ายคุณสมบัติของ “เงิน” นั่นเองเช่น การรักษามูลค่า  การเป็นตัวกลางในการซื้อขาย

งานศึกษานี้จำแนกสถานการณ์การใช้งาน Crypto ในอนาคตออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่

1.การใช้ในทางธุรกิจ

การนำ Crypto มาใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างธุรกิจนั้น มีข้อได้เปรียบหลายด้านเมื่อเทียบกับการดำเนินการผ่านระบบธนาคารแบบเดิม เช่น ความรวดเร็วและความถูกต้อง ค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า นอกจากนี้ ยังสามารถใช้  smart contract  เพื่อใช้ติดตามที่มาของ Crypto ได้อีกด้วย

อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันคาดว่าจะมีผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินไม่มากนัก เนื่องจากการใช้งานยังอยู่ในวงจำกัด และเมื่อทำธุรกรรมด้วย Crypto เสร็จแล้วมักจะแลกกลับเป็นเงินบาททันที

2.การใช้ชำระเงินรายย่อย

การใช้งาน Crypto ในลักษณะนี้ค่อนข้างแพร่หลายในชีวิตประจำวัน โดยหากว่า Crypto ได้รับการพัฒนาเทคโนโลยีและรูปแบบจนเข้าข่ายคุณสมบัติของเงินได้ครบถ้วน  รวมทั้งมีจุดเด่นที่ดีกว่าg’boบาท อาทิ ความสะดวกรวดเร็วในการใช้จ่าย การไม่สามารถระบุตัวตนได้  สิ่งนี้จะกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินคล้ายๆกับประเทศที่ใช้เงินตราต่างประเทศเป็นเงินสกุลหลัก เนื่องจากประชาชนจะเปลี่ยนไปใช้ Crypto

เป็นเงินสกุลหลักในชีวิตประจำวันแทนเงินบาทมากขึ้น ทำให้ประสิทธิผลการส่งผ่านนโยบายการเงินโดยรวมลดลง



3.ทางเลือกในการลงทุนสินทรัพย์รูปแบบใหม่ (New Asset Class)

การใช้งาน Crypto เป็นตัวกลางในการระดมทุน Initial Coin Offering (ICO) หรือ Security Coin Offering (SCO) หรือสินทรัพย์จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินได้ต่อเมื่อมีจำนวนผู้ลงทุนมากพอ  และมีตลาดแลกเปลี่ยนที่มีสภาพคล่องสูง   ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนของมูลค่า Crypto ได้
ในกรณีนี้จะกระทบกับช่องทางการส่งผ่านนโยบายการเงินโดยเฉพาะในช่องทางสินทรัพย์


การประเมินความเป็นไปได้ใน 3 กรณีข้างต้นชี้ให้เห็นว่า พัฒนาการทางการเงินรูปแบบใหม่ในอนาคต

สามารถลดทอนประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายการเงินได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยขนาดของผลกระทบขึ้นกับความต้องการถือครอง Crypto ของประชาชนและภาคธุรกิจ  ดังนั้น  ธนาคารกลางจึงต้องเตรียมความพร้อมรับกระแสการใช้งาน Crypto คือ การพิจารณาออกใช้สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางเพื่อแข่งขันกับ Cryptocerrency

สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC)

สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง คือ สกุลเงินในรูปแบบดิจิทัลที่มีคุณสมบัติของ “เงิน” และสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางนั้นมีคุณลักษณะเช่นเดียวกับเงินสดในรูปแบบดิจิทัล สามารถทดแทนเงินสดในรูปแบบดิจิทัลได้อย่างเต็มรูป  ทำให้สามารถทำธุรกรรมได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง และสามารถแลกกลับเป็นธนบัตรและได้ในอัตรา 1 ต่อ 1

หากประชาชนทั่วไปใช้สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ  และไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ถือครอง  สิ่งนี้จะถือว่ามีคุณลักษณะเหมือนกับการถือครองเงินสดเกือบทุกประการ


จากการวิเคราะห์ข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่าการออกใช้สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางแบบไม่จ่ายดอกเบี้ย อาจเป็นแนวทางที่เหมาะสมส าหรับธนาคารกลางในการรับมือกับกระแสความนิยมในการใช้ Crypto เพื่อชำ ระเงินของรายย่อย

แต่อย่างไรก็ตามการออกใช้สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง ยังจำเป็นต้องพิจารณาผลกระทบด้านอื่นๆที่อาจตามมาอีกต่อไป เช่น ผลกระทบต่อธุรกิจสถาบันการเงิน การเพิ่มความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน  การสูญเสียรายได้จากการพิมพ์ธนบัตร

 หากใครสนใจสามารถเข้าไปอ่าน LINK


ที่มา : bitcoin-addict.com
« PREV
NEXT »

ไม่มีความคิดเห็น