BREAKING NEWS
latest

728x90

ad

468x60

ad

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565

บึงกาฬ เลขา กพฐ.เปิดงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงเรียนคุณภาพระดับเขตพื้นที่




วันที่ 30 มี.ค. เวลา 09.00 น. ที่โรงเรียนอนุบาลศรีวิไล อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงเรียนคุณภาพ สพป.บึงกาฬ (BUENGGKAN Innovation Grand Opening) โดยมีนายธาตรี บุญมาก รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ นายประเสริฐ วรสาร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ดร.สาส์นลิขิตชัย พลไธสง ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ นายโกเมณ ชาลี นายอำเภอศรีวิไล ตลอดจนผู้บริหารสถานศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน ส่วนราชการ คณะครู บุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ร่วมให้การต้อนรับ พร้อมเยี่ยมชมผลการดำเนินงานของโรงเรียนคุณภาพที่ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานเขตพื้นที่ ทั้ง 8 อำเภอ

ดร.อัมพรฯ กล่าวว่า วันนี้ออกมาติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพ สู่การปฏิบัติของเขตพื้นที่ โรงเรียนอนุบาลศรีวิไล ที่มี 1.เด็กนักเรียนคุณภาพ 2.ผอ.และครูมีคุณภาพ 3.หลักสูตรและการเรียนการสอนมีคุณภาพ 4.โครงสร้างพื้นฐานคุณภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงเรียนที่เขตพื้นที่ได้คัดเลือกให้เป็นโรงเรียนใน เฟสที่ 1 ที่มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนเริ่มมาตั้งแต่ปี 2565 วันนี้ประเด็นที่ 1.มาดูโรงเรียนอนุบาลว่าที่จะเป็นโรงเรียนหลักที่จะเป็นโรงเรียนคุณภาพรองรับเครือข่ายได้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ซึ่งผลก็ปรากฏว่าโรงเรียนอนุบาลศรีวิไลนั้นมีความพร้อมทั้ง 4 ด้าน ด้านนักเรียน ด้านบุคลากร ด้านหลักสูตรทั้งการเรียนการสอน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะสามารถรองรับโรงเรียนในเครือข่ายได้ ซึ่งก็ได้มอบนโยบายกับทางเขตพื้นที่การศึกษาว่าต่อไปจะต้องทำอย่างไรที่จะเชิญชวนโรงเรียนในเครือข่ายให้มาใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อย่างไร ในอนาคตจะขยายโรงเรียนคุณภาพไปสู่โรงเรียนศรีวิไลวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่มีรั้วติดกันได้พัฒนาขนาดคู่กันไปกับโรงเรียนอนุบาลศรีวิไลด้วย และก็จะใช้โรงเรียนในเฟสที่ 3 ถ้าหากมาเรียนรวมกันแล้ว มาใช้ทรัพยากรร่วมกันแล้ว จะใช้ประโยชน์กับโรงเรียนที่เหลือได้อย่างไร และประเด็นที่ 2 ถือโอกาสนี้มาชี้แจงซักซ้อมความเข้าใจถึงแนวทางให้กับโรงเรียน ในเฟสที่ 2 ที่ 3 แล้วก็ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขต ในเขตตรวจราชการที่ 10 ได้รับทราบถึงทิศทางและแนวทางในการขับเคลื่อนในระยะต่อไปเพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น และประเด็นที่ 3 ได้มาติดตามและเยี่ยมชมผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนต่างๆ ที่ทางเขตพื้นที่กำหนดให้เป็นโรงเรียนคุณภาพ แม้จะยังไม่ได้งบประมาณ แต่โรงเรียนมีการเตรียมความพร้อมมีจุดเด่นอย่างไรที่จะมานำเสนอ เพื่อรับรองและเตรียมความพร้อมสู่โรงเรียนคุณภาพในโอกาสต่อไป ซึ่งผมก็ได้มีโอกาสเยี่ยมชมนิทรรศการของโรงเรียนทั้ง 8 อำเภอ พร้อมทั้งได้ให้คำเสนอแนะ และเห็นจุดเด่นหลายๆ ประการด้วยกัน .

ดร.อัมพรกล่าวต่อว่าหากทุกเขตพื้นที่ได้ดำเนินการ และร่วมกันขับเคลื่อนอย่างจริงจัง ซึ่งเราก็ไม่ได้คาดหวังว่าโรงเรียนคุณภาพจะเกิดขึ้นได้ในปีใดปีหนึ่ง แต่มันเป็นทิศทางของการดำเนินงาน การบริหารจัดการเชิงระบบให้กับประเทศไทย เพราะฉะนั้นสิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็ต้องขับเคลื่อนและขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพไปด้วยกัน ซึ่งในภาพรวมทั้งหมด ในนามของคณะรัฐมนตรี ในนามของรัฐบาล ก็คิดว่าน่าจะมีความภาคภูมิใจ และเห็นว่าเป็นนโยบายที่สำคัญ ควรที่จะผลักดันให้เห็นเป็นรูปธรรมในโอกาสต่อไป ส่วนงบประมาณสนับสนุนด้านการศึกษานั้นก็มีข้อจำกัด ซึ่งปัจจุบันเด็กๆ ก็ลดประมาณการเกิดลง เนื่องจากมีการแต่งงานช้า พอแต่งงานแล้วก็ยังไม่อยากมีภาระเลี้ยงดูบุตร จึงมีลูกช้าเข้าไปอีก จำนวนนักเรียนจึงลดลงไปด้วย จึงไม่อยากจะให้ อปท.สร้างโรงเรียนหรือสถานศึกษาแข่งขันกัน ขอให้สนับสนุนด้านงบประมาณแก่สถานศึกษาที่อยู่ในท้องถิ่นใกล้บ้าน เพื่อสร้างอนาคตและโอกาสทางการศึกษาให้บุตรหลานต่อไป.







บึงกาฬ//ข่าว : นิธิศักดิ์ เศรษฐแสงศรี


« PREV
NEXT »

ไม่มีความคิดเห็น