BREAKING NEWS
latest

728x90

ad

468x60

ad

วันเสาร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2566

ประวัติ หลวงพ่อพระใหญ่ | วัดโพธาราม อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ


 


หลวงพ่อพระใหญ่ พระคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดบึงกาฬ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยล้านช้าง หน้าตักกว้าง 2 ศอก 1 คืบ ประดิษฐานบนแท่นสี่เหลี่ยม ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.2537 และในทุกๆ ปีจะมีพุทธศาสนิกชนชาวไทยและ สปป.ลาว มาเข้าร่วมพิธีกันอย่างเนืองแน่น ในงานสมโภชหลวงพ่อพระใหญ่ ซึ่งจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง คือประเพณีบุญเดือน 3 หรือบุญข้าวจี่มีการถวายปราสาทผึ้ง (มาจากดอกผึ้ง) และประเพณีสรงน้ำหลวงพ่อพระใหญ่ หลังเทศกาลสงกรานต์ เพื่อเป็นสิริมงคล และเจริญรุ่งเรือง พุทธศาสนิกชนมักไปกราบไหว้บูชาตั้งจิตอธิษฐานขอพรในเรื่องเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงาน และให้แคล้วคลาดปลอดภัย เมื่อได้สมหวังตามที่ขอพรเอาไว้ ก็จะบูชาเอาบั้งไฟ 9 ดอกไปจุดถวายหลวงพ่อพระใหญ่ ณ จุดที่เตรียมไว้ข้างพระอุโบสถ


ประวัติหลวงพ่อพระใหญ่

หลวงพ่อพระใหญ่เป็นพระพุทธรูปรางมารวิชัย โบกฉาบด้วยปูนองค์หลวงพ่อ มีขนาดดังนี้

- หน้าตักกว้าง 2 เมตร
- จากฐานถึงยอดพระเกศสูง 2.10 เมตร
- จากพระฌาน ุ(เข่า) ถึงพระศอ (คอ) สูง 0.90 เมตร

พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนหน้าตัก พระหัตถ์ขวาคว่ำวางทับพระฌานุ นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 5 เหยียดลงอย่างมีระเบียบเหมือนพระพุทธรูปทั่วๆ ไปประดิษฐานบนแท่น 4 เหลี่ยม ซึ่งได้บูรณะขึ้นใหม่ในปี 2537 นี้



ขอบคุณภาพจาก รวมที่เที่ยว ที่พักที่กิน เรื่องราวน่ารู้รอบเมืองไทย




ตามตำนานและคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่หลายรุ่น หลายสมัยเล่าสืบต่อกันมาประมาณสองพันกว่าปีมาแล้ว จนถึงยุคสมัยหลังๆ ซึ่งแต่ก่อนคนเหล่านี้ส่วนมากได้อพยพครอบครัวมาจากเมืองยศ (บริเวณจังหวัดยโสธรในปัจจุบัน) มาตั้งถิ่นฐานริมฝั่งแม่น้ำโขงและร่นขึ้นมาทางเขตชัยบุรี (ปัจจุบัน คืออำเภอบึงกาฬ) การตั้งถิ่นฐานอยู่นั้นก็เหมือนกันทุกยุคทุกสมัย คือที่ใดไม่เหมาะสมในการดำรงชีวิต ต้องประสบกับภัย และมีการระบาดของโรคร้ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคอหิวา โรคไข้ฝีดาด ถูกรบกวนจากสัตว์ร้ายหรือภูตผีปีศาจต่างๆ ก็พากันหลบหนีภัยย้ายถิ่นฐานไปเรื่อยๆ เพื่อหาที่เหมาะสมต่อไป ชนกลุ่มนี้ก็เหมือนกันย้ายถิ่นฐานไปเรื่อยๆ เพื่อหาที่เหมาะสม จนถึงบ้านท่าใคร้ในปัจจุบัน เมื่อเห็นเป็นที่เหมาะสมดีก็ตกลงใจกันตั้งหลักฐานที่จะหากินในบริเวณนี้จาก นั้นต่างก็จับจองพื้นที่หากินแล้วเริ่มขยายอาณาบริเวณไปเรื่อยๆ จนถึงบริเวณที่รกทึบที่สุดเป็นป่าดงดิบ มีไม้นานาพันธุ์ เช่น ไม้ยาง ไม้ตะแบก ไม้สัก ไม้ไผ่ป่า ขี้นอยู่อย่างหนาแน่นและเต็มไปด้วยสัตว์ป่าหลายชนิด ที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าว เนื่องจากเป็นป่ารกทึบมากชาวบ้านที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่รอบๆ จึงได้ร่วมกันในการถากถางเพื่อจะได้มีพื้นที่มากขึ้น หลังจากที่ได้ทำการถากถางอยู่เป็นเวลาหลายวันก็พบพุ่มไม้ที่สูงและหนากว่า ที่อื่นๆ เมื่อถางป่าดังกล่าวออกก็พบพระพุทธรูปเดิมที่เต็มไปด้วยเถาวัลย์พันรอบองค์ อยู่ จึงได้นำเถาวัลย์ออก แล้วปัดกวาดบริเวณรอบๆ ก็พบว่าพระเกตุมาลาของหลวงพ่อหักเพราะถูกช้างป่ากระชากเถาวัลย์ลงมาเพื่อหา กินตามธรรมชาติของสัตว์ป่า และเห็นเป็นรูปร่างของสถานที่บำเพ็ญบุญ หรือสถานที่ประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนา อีกทั้งยังพบซากเครื่องปั้นดินเผา โอ่งโบราณ รวมทั้งเครื่องใช้อีกหลายอย่างองค์พระพุทธรูปนั้นตั้งแต่ได้พบมาถึงปัจจุบัน

ไม่เคยเคลื่อนย้ายหรือ ต่อเติมแต่อย่างใด เพียงแต่ต่อพระเกตุที่หักให้คงสภาพเดิม มีเพียงแท่นที่ประดิษฐานเท่านั้นที่สร้างโอบแท่นเดิม เพื่อให้มีความมั่นคงขึ้นยิ่งกว่าเดิม และมีผู้ที่มาขอพรจากหลวงพ่อเมื่อได้สมความปรารถนาแล้วก็ได้นำสีทองมาทา สมโภชหลวงพ่อ จึงทำให้องค์หลวงพ่อเหลืองอร่ามเป็นสีทองทั้งองค์





ขอบคุณภาพจาก รวมที่เที่ยว ที่พักที่กิน เรื่องราวน่ารู้รอบเมืองไทย



ปฏิหารย์ของหลวงพ่อ

1. เมื่อครั้ง สงครามอินโดจีน ปรากฏว่ามีแสงสว่างจ้ากว่าแสงตะเกียงเจ้าพายุที่ลอยจากโบสถ์วัดบ้านท่าไคร้ ข้ามไปยังปากบึง ฝั่งลาว แล้วข้ามกลับมาที่เดิมแล้วดับลงที่โบสถ์

2. เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2490 ได้ รื้อซากโบสถ์เก่าเพื่อสร้างใหม่ ช่างและคนงานล้วนเป็นคนญวนพากันขุดเพื่อลงรากเสาเข็ม พอขุดลงไปพบพระพุทธรูปองค์เล็กจำนวนมากหลายพันองค์ พวกคนงานเหล่านั้นเห็นว่าเป็นของเก่าก็พากันเอาไป โดยมิได้บอกใครหลังจากนำเอาพระพุทธรูปเหล่านั้นไปยังไม่ทันข้ามคืนเกิดเป็น บ้าบ้างเกิดท้องร่วงอย่างรุนแรงบ้าง เป็นไข้อย่างฉับพลันบ้าง จนต้องนำเอาพระพุทธรูปกลับคืนมาไว้ที่เดิมในตอนกลางคืน และอาการที่ป่วยต่าง ๆ หายไปเหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น

3. เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2496 - 2497 เด็ก หญิงชาวบ้านท่าไคร้ไปอยู่กับญาติที่ชลบุรีได้ขี่จักรยานไปซื้อของ ถูกรถสิบล้อชนจนจักรยานหักป่นปี้ ส่วนเด็กหญิงคนนั้นตกกระเด็นไปตกฟากถนนอีกฝั่งหนึ่งลุกขึ้นได้ปัดฝุ่นแล้วก็ เดินได้สบายไม่มีบาดเจ็บแม้แต่น้อยรถ แต่สิบล้อคันที่ชนกลับมีไฟลุกใหม้ท่วมเสียหายทั้งคันที่หนูน้อยคนนี้รอด ตายอย่างปาฏิหาริย์ เพราะมีรูปถ่ายของหลวงพ่ออัดกรอบพลาสสติกห้อยคอ

4. เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2511 เด็กสาวบ้านท่าไคร้กับน้องสาวไปธุระที่บ้านดงหมากยางขากลับจวนค่ำถูกคนร้าย จี้เอาสร้อยคอมทองคำหนัก 3 บาทไป จึงต้องครึ่งวิ่งครึ่งเดินกลับบ้านบอกเล่าเหตุการให้พ่อ - แม่ฟังแล้วรีบไปบอกหลวงพ่อขอให้ติดตามเอาสร้อยกลับคืนมา เวลาล่วงมา 3 วัน คนในบ้านหลังนั้นแทบจะไม่เชื่อสายตา เพราะสร้อยคอเส้นที่ถูกจี้เอาไปทิ้งอยู่ระเบียงหน้าบ้าน โดยสร้อยอยู่ในสภาพเดิมทุกประการ

5. เมื่อประมาณปีพ.ศ. 2512 - 2513 ก่อนสร้างโบสถ์หลังปัจจุบัน ก็มีแสงสว่างออกมาจากต้นโพธิ์ข้างโบสถ์แล้วข้ามไปบ้านปากบึงประเทศลาวอีก แสงสว่างเช่นนี้จะปรากฏในวันพระ 2 - 3 เดือนต่อครั้ง และมักจะมีผู้พบเห็นเหตุการณ์เช่นนี้บ่อยครั้ง

6. ร.อคำ ม้าว จันทวงศ์ เป็นคนบ้านปากบึงฝั่งประเทศลาว ซึ่งอยู่ตรงข้ามหมู่บ้านท่าไคร้ ก่อนที่จะไปราชการสงครามก็ได้มาบนหลวงพ่อไว้ทุกครั้ง ซึ่ง ร.อคำม้าวได้เกิดอุบัติเหตุทางเครื่องบินถึง 3 ครั้ง แต่ก็รอดชีวิตมาทุกครั้ง เขาจึงศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อและได้บริจาคเงินจำนวน 2 หมื่นบาทสร้างโบสถ์หลังปัจจุบัน

7. เมื่อปีพ.ศ. 2528 ผู้ เขียนประสบด้วยตนเอง ชาวบ้านประชุมตกลงกันเอาช่างมาถ่ายรูปหลวงพ่อเพื่ออัดกรอบพลาสติกเพื่อให้ ผู้ศรัทธาบูชาไปสักการะประจำตัว ก่อนช่างถ่ายภาพจะได้ตกแต่งขันธ์ข้าวดอกไม้เพื่อสักการะและขอขมาแล้วจึงลง มือ ช่างภาพถ่ายรูปหลวงพ่อประมาณ 10 กว่ารูป เมื่อนำเอาไปล้างแล้วไม่มีรูปหลวงพ่อติดเลยแม้แต่น้อย ฟิล์มมืดดำไปชัตเตอร์ไม่ลั่นกดก็ไม่ลงเหมือนมีอะไรมาขัดไว้

8. มีผู้ถือเหรียญหลวงพ่อพระใหญ่จำนวนไม่น้อยที่ต้องประสบอุบัติเหตุ แต่ก็ปลอดภัยทุกคน



เนื้อที่ของวัดทั้งหมดประมาณ 5 ไร่ เศษ เป็นพื้นที่ราบ 3 ส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่ลุ่ม ทางวัดมีโครงการถมที่ให้เสมอกันงานประจำปีของวัด เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือบุญมหาชาติจะจัดให้มีใน 4 เดือนข้างขึ้นของทุกปี นอกจากนี้แล้วในวันพระ 8 ค่ำ และ 14 - 15 ค่ำ ชาวบ้านท่าไคร้จะพร้อมกันลงรวมกันที่วัด เพื่อไหว้พระฟังเทศน์ เวียนเทียน ซึ่งถือเป็นประเพณีที่ดีงามอีกอันหนึ่ง



ขอบคุณภาพจาก รวมที่เที่ยว ที่พักที่กิน เรื่องราวน่ารู้รอบเมืองไทย



งานประจำปีที่ทำเพื่อสักการะแด่หลวงพ่อพระใหญ่

ประชาชนในสมัย ก่อนก็ได้มาขอพรจาก หลวงพ่อ ให้ช่วยเมตตา ปกปักรักษา และป้องกันอันตรายต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้หมดไป และก็ได้สมดังความปรารถนาตลอดมาจนถึงปัจจุบันดังนั้นจึงจัดให้มีการน้อมถึง พระคุณที่หลวงพ่อได้เมตตากรุณาตลอดมา และจัดงานสมโภชปีละ 2 ครั้ง ซึ่งปฎิบัติสืบต่อกันมา ทุกปีจนถึงปัจจุบันคือ

ครั้งที่ 1 วันเพ็ญเดือน 3 จะทำบุญข้าวจี่ พร้อมกับปราสาทผึ้ง 2 หลัง เป็นการสักการะแด่หลวงพ่อ

ครั้งที่ 2 ทำในเทศกาลวันสงกรานต์ ของทุกปีมีการสรงน้ำหลวงพ่อพระใหญ่งานนี้ถือเป็นงานใหญ่ประจำปี มีพุทธบริษัทมาร่วมงานเป็นจำนวนมากทั่วทุกสารทิศพิธีสรงน้ำพระใหญ่มักจะจัด หลังวันมหาสงกรานต์หนึ่งสัปดาห์ ซึ่งจะจัดงานตรงกับวันเสาร์ อาทิตย์



วัดโพธาราม (วัดหลวงพ่อพระใหญ่)

ตั้งอยู่ที่ บ้านท่าไคร้ หมู่ที่ 5 ตำบลบึงกาฬ ห่างจากอำเภอเมืองบึงกาฬ 5 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 212 (บึงกาฬ-นครพนม)


พิกัด https://goo.gl/maps/MERwAaUSWr2kCbXx7



บึงกาฬ//ข่าว : บึงกาฬบอร์ด

ข้อมูล
https://thailandtourismdirectory.go.th/th/attraction/4396
http://bkchamber.com
https://pukmudmuangthai.com


« PREV
NEXT »

ไม่มีความคิดเห็น