จังหวัดบึงกาฬได้จัดงานวันสถาปนา งานกาชาดและงานของดีบึงกาฬ เฉลิมฉลองครบรอบ 9 ปีแห่งการก่อตั้งจังหวัดบึงกาฬ ในโอกาสครบรอบ 9 ปี ระหว่างวันที่ 1 – 5 สิงหาคม 2563 นี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของจังหวัดบึงกาฬ
นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย นางแว่นฟ้า ทองศรี ภริยาเปิดงานบวงสรวงถวายสักการะศาลเจ้าแม่สองนางมีนายสนิท ขาวสอาด ผวจ.บึงกาฬและรอง ผวจ
โดยมีนายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท.3) พร้อมด้วยนางแว่นฟ้า ทองศรี ภริยาเดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดงานบวงสรวงถวายสักการะศาลเจ้าแม่สองนาง มีนายสนิท ขาวสอาด ผวจ.บึงกาฬ รอง ผวจ.บึงกาฬ นายกรกต ธำรงวงศ์สวัสดิ์ รอง ผวจ.นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ รอง ผวจ.หัวหน้าส่วนราชการ พ่อค้าประชาชนให้การต้อนรับและร่วมเปิดงาน โดยมีกลุ่มชาติพันธ์จากอำเภอต่างๆ ทั้ง 8 อำเภอส่งตัวแทนเข้ามาเป็นนางรำจำนวน 1,200 คน มาร่วมฟ้อนรำบวงสรวงถวายเจ้าแม่สองนางสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบึงกาฬให้การเคารพบูชามาช้านาน และในปีนี้มีนางรำมาร่วมขบวนแห่ฟ้อนรำน้อยกว่าปีที่ผ่านมา คือปีที่ผ่านมามีนางรำเป็นหลักหมื่นแต่ปีนี้มีแค่ 1,200 คน เนื่องจากต้องป้องกันโรคโควิค-19 ด้วย โดยขบวนแห่เริ่มต้นด้วยพิธีบวงสรวงถวายสักการะศาลเจ้าแม่สองนาง ณ บริเวณศาลเจ้าแม่สองนาง ถนนเจ้าแม่สองนาง ต.บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ จากนั้นจึงเริ่มต้นขบวนแห่ฟ้อนรำประกอบเสียงดนตรี โดยขอให้นักท่องเที่ยวทุกคนที่มาร่วมงาน ปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด สวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ท่ามกลางบรรยากาศที่มีฝนตกโปรยปราย เล่นเอานางรำเปียกชุ่มกันทุกคน
พิธีรำบวงสรวงท่ามกลางสายฝนโปรยปราย และตอนค่ำมีพิธีเปิดงานเป็นทางการที่เวทีถนนข้าวเม่าริมโขง อ.เมือง จ.บึงกาฬ
ในการจัดงานครั้งนี้ ได้ผนวกเอางานกาชาดประจำปี 2563 เข้าไปด้วยกับงานวันสถาปนาจังหวัดบึงกาฬ ที่เก้าเข้าสู่ปีที่ 9 ก้าวหน้ามุ่งสู่ศูนย์กลางเศรษฐกิจชายแดนแห่งลุ่มน้ำโขง “สร้างเมือง สร้างคน สร้างรายได้” เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ ให้สามารถรองรับกิจกรรมและเทศกาลงานท่องเที่ยวของจังหวัดที่กำหนดจัดขึ้นตลอดปี เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ที่ตั้ง สามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และเพื่อกระตุ้นการเดินทางมาท่องเที่ยวยังจังหวัดบึงกาฬ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ ทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี กระจายรายได้สู่ชุมชน มีการแสดงนิทรรศการของดีอำเภอและชาติพันธ์ การจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์ชุมชนงานกาชาด การประกวดนางสาวบึงกาฬ การประกวดร้องเพลง การเดินแบบผ้าไทย การแข่งกีฬาคาราวานสินค้า ถนนอาหาร และการจัดแสดงศิลปวัฒนธรรม และการจัดแสดงคอนเสิร์ตเป็นประจำทุกคืนตลอดทั้ง 5 วัน
ข่าวต้นฉบับ
ไม่มีความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น